วิธีป้องกันกระดูกอ่อนซี่โครงเบี้ยว ในการเสริมจมูก


ชาวเอเชียส่วนใหญ่จะมีดั้งจมูกที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้การมีดั้งโด่งและคมชัดถูกมองเป็นความสวยงาม ในหลายๆประเทศในเอเชีย ด้วยเหตุนี้การศัลยกรรมจมูกจึงเป็นการผ่าตัดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามการเสริมจมูก ก็เหมือนกับการผ่าตัดทั่วๆไปที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น จมูกเบี้ยว เป็นต้น ซึ่งดร.ซอมันกุน จากโรงพยาบาลศัลยกรรม JW ได้ใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบพิเศษเพื่อป้องกันและลดการเกิดปัญหาดังกล่าว

การศัลยกรรมจมูก ถือเป็นหนึ่งในการศัลยกรรมพลาสติกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชีย


กระดูกอ่อนซี่โครงสามารถเพิ่มวอลลุ่มได้อย่างมาก และอัตราการดูดซึมของร่างกายต่ำ เมื่อเทียบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งหมายความว่ากระดูกอ่อนซี่โครงสามารถใช้เสริมจมูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระดูกอ่อนซี่โครงสามารถใช้เสริมดั้งจมูกได้ 2 วิธี คือ กระดูกอ่อนแบบ diced และกระดูกอ่อนแบบ block

กระดูกอ่อนแบบ diced คือ การใช้กระดูกอ่อนซี่โครงสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วหุ้มด้วยเนื้อเยื่อfascia ซึ่งปกติจะนำมาจากบริเวณขมับ สามารถใช้สำหรับการเสริมจมูกในเคสที่มีผิวหนังบาง โดยข้อเสียอย่างหนึ่ง คือ มีอัตราการสลายที่ค่อนข้างสูง ทำให้ไม่เหมาะต่อการเสริมดั้งในบางกรณี ซึ่งกระดูกอ่อนแบบ block สามารถตอบโจทย์การเสริมจมูกได้ดีกว่า

ข้อกังวลหลักอีกประการ เมื่อใช้กระดูกอ่อนซี่โครงแบบ block คือ อาจเกิดการบิดเบี้ยวได้ ซึ่งแพทย์จะมีการใช้เทคนิค concentric carving ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ทั่วไปเพื่อป้องกันการบิดงอ (fig 1) แต่ก็ยังมีโอกาสการเกิดการบิดเบี้ยวได้


(fig 1)

   แต่แทนที่จะใช้เทคนิค concentric carving ทั่วไป ดร.ซอมันกุน โรงพยาบาลศัลยกรรม JW ได้พัฒนาเทคนิค เพื่อลดการเกิดการบิดเบี้ยวของกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม ‘Multi-layered rib cartilage graft technique’ หรือ เทคนิคการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนซี่โครงหลายชั้น

ในเทคนิคนี้จะนำกระดูกอ่อนซี่โครง มาสไลด์เป็นแผ่นบางๆ และซ้อนกันเป็นชั้นจมูกตามความสูงที่ผู้ป่วยต้องการ ซึ่งเทคนิคนี้ช่วยให้การปลูกถ่ายกระดูกอ่อนพอดีการรูปร่างโครงจมูกของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่ยังช่วยลดโอกาสการเกิดการบิดเบี้ยวของกระดูกอ่อน โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค concentric carving ซึ่งดร.ซอยังไม่เคยพบกรณีกระดูกเบี้ยวจากการใช้เทคนิคนี้มาก่อน

(Fig 2)

นอกจากนี้เทคนิคนี้ไม่จำเป็นต้องมีการยึดด้วย K-wire ซึ่งมีการใช้ในบางครั้ง ในเทคนิค concentric carving (Fig 2) โดยเทคนิคใหม่นี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดยดร.ซอมันกุน ซึ่งได้ถูกนำเสนอในการประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศ และได้รับการยกย่องจากศัลยแพทย์ทั่วโลก

ดูข้อมูลดร.ซอมันกุนเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับคำปรึกษาออนไลน์ หรือ Line Official : @jwthailand / คลิก http://nav.cx/lAOUlG

ความคิดเห็น