การแก้ไขการติดเชื้อหลังการผ่าตัดเสริมจมูก : ผ่าตัดแก้ไข ไม่จำเป็นต้องรอ


ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรรมจมูก และประธานสมาคมศัลยแพทย์จมูกแห่งประเทศเกาหลี นายแพทย์ซอมันกุน (Dr. Suh Man Koon) ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง เมื่อใดและวัสดุใดที่เหมาะสมในการผ่าตัดแก้ไขจมูกMalaysian Association of Plastic, Aesthetic and Craniomaxillofacial surgeons (MAPACS)

เทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ของ Dr.Suh จะช่วยลดระยะเวลารอคอยในการผ่าตัดแก้ไขจมูกที่เคยทำมา ปกติแล้วการติดเชื้อหลังการศัลยกรรมจมูกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมาก โดยที่โรงพยาบาลศัลยกรรม JW มีรายงานการติดเชื้อของคนไข้ น้อยกว่า 0.3% โดยน้อยกว่าอัตราค่าเฉลี่ยการติดเชื้อของคนไข้ทั่วโลกมากถึง 1~3%

อย่างไรก็ตามคนไข้ส่วนใหญ่มักจะมาที่ JW เพื่อแก้ไขปัญหาการติดเชื้อหลังผ่าตัดที่ทำมาจากสถานพยาบาลอื่นๆ โดยสัญญาณและอาการติดเชื้อหลังการผ่าตัดนั้น มีหลายประการ ได้แก่ บวม, เจ็บปวด, อาการแดง, แสบร้อนในจมูก เป็นต้น




ภาพ 1 : ตัวอย่างการติดเชื้อหลังศัลยกรรมจมูก



การติดเชื้อในบริเวณพื้นที่จำกัด เช่น เนื้อเยื่ออ่อนของจมูก สามารถรักษาได้ง่ายด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ในกรณีการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับวัสดุเสริม เช่น ซิลิโคน จำเป็นต้องพิจารณาการผ่าตัดนำวัสดุเสริมนั้นออก ซึ่งกรณีนี้ควรกำจัดวัสดุเสริมและเนื้อเยื่อพังผืดรอบๆออกไปพร้อมกัน และฆ่าเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ
ก่อนหน้านี้ตามหลักการแพทย์แล้ว หากเกิดการติดเชื้อหลังการผ่าตัด คนไข้จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาอาการติดเชื้อให้หายดีก่อน แล้วจึงจะผ่าตัดแก้ไขทรงจมูก ซึ่งใช้เวลาหลายเดือนถึง 1 ปี
ในบางกรณี อาการผิดปกติที่ปลายจมูกอาจเกิดขึ้นหลังจากการถอดวัสดุเสริมออก และระหว่างการรักษาอาการติดเชื้อ เช่น ปลายจมูกเชิด หรือ ปลายจมูกยุบตัวลง เนื่องจากการหดตัวของพังผืด หรือ อาจทำให้ผิวบริเวณปลายจมูกบางลง โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการรอการผ่าตัดแก้ไข ดังตัวอย่างด้านล่าง


ภาพ 2 (A)                                                                        ภาพ 2 (B)


จากภาพประกอบ ภาพ 2 (A) คือ ก่อนถอดวัสดุเสริม และภาพ 2 (B) คือหลังจากถอดวัสดุเสริม 3เดือน และรักษาอาการติดเชื้อเรียบร้อย แต่ปลายจมูกกลับเชิดขึ้น ทำให้ดูแย่ลง สิ่งนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรงต่อคนไข้ที่กำลังรักษาการติดเชื้อ และรอการผ่าตัดแก้ไข

เพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติกว่าเดิมของจมูก ในขณะที่มีการติดเชื้อและเพื่อบรรเทาความเครียดของคนไข้ ดร.ซอ จากโรงพยาบาล JW ได้พัฒนาการผ่าตัดแก้ไขจมูกพร้อมกับการรักษาอาการติดเชื้อที่จมูกไปพร้อมกัน

   
โดยการผ่าตัดมีอยู่ด้วยกัน 2เงื่อนไข คือ การควบคุมและรักษาอาการติดเชื้อ พร้อมทั้งผ่าตัดแก้ไขทรงจมูก ซึ่งวัสดุที่ใช้นั้นควรมาจากเนื้อเยื่อจากตัวของคนไข้เอง เช่น Dermofat หรือการนำชั้นหนังแท้และไขมันมาเสริมบริเวณดั้งจมูก และการใช้กระดูกอ่อนสำหรับปลายจมูก โดยจะเลือกจะใช้เป็นกระดูกอ่อนใบหู, กระดูกอ่อนภายในจมูก หรือกระดูกอ่อนซี่โครงนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพจมูกของคนไข้

ปลายจมูกเชิด หรือ ปลายจมูกยุบตัวลง เนื่องจากการหดตัวของพังผืด สามารถผ่าตัดแก้ไขพร้อมกับการรักษาอาการติดเชื้อได้ และการปลูกถ่าย Dermofat สามารถทำได้สำหรับการเสริมบริเวณดั้งจมูก

ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อหลังการผ่าตัดแก้ไข หรือการผ่าตัดที่สามารถทำได้เร็วกว่าเทคนิคของ ดร.ซอ


ภาพ 3 (A)                                                                        ภาพ 3 (B)

จากภาพประกอบ ภาพ 3 (A) คือ ปลายจมูกเชิดขึ้นเนื่องจากการหดตัวของพังผืดและการติดเชื้อ และภาพ 3 (B) คือหลังจากผ่าตัดแก้ไขโดยการถอดวัสดุเสริมเก่า, กำจัดพังผืด, รักษาอาการติดเชื้อ และยืดปลายจมูกด้วยการใช้กระดูกอ่อนใบหู

เทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่นี้ ได้นำเสนอเป็นครั้งแรก ณ งานประชุมวิชาการศัลยกรรมความงามพลาสติกนานาชาติ ที่จัดขึ้นในกรุงโซล ปีนี้ และอีกครั้ง ณ Malaysian Association of Plastic, Aesthetic and Craniomaxillofacial surgeons (MAPACS)


นายแพทย์ซอมันกุน ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง เมื่อใดและวัสดุใดที่เหมาะสมในการผ่าตัดแก้ไขจมูก



นายแพทย์ซอมันกุน, นาย Gregory Evans อดีตนายกสมาคมศัลยกรรมพลาสติกอเมริกา (American Society of Plastic Surgery) และนาย Yap Lok Huei ประธานฝ่ายวิทยาศาสตร์ สมาคมศัลยกรรมพลาสติกมาเลเซีย(Scientific chairman of Malaysia plastic surgery society)


นายแพทย์ซอมันกุนและภรรยา กับนาย Kim K Tan อดีตประธานสมาคมศัลยกรรมพลาสติกมาเลเซีย


ทำความรู้จักกับโรงพยาบาลศัลยกรรม JW เพิ่มเติม ได้ที่นี่
ปรึกษาออนไลน์ ได้ที่นี่
หรือ Add Line ID: thai5114 

ความคิดเห็น